วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

8 มีนาคม 2562




🌷 ความรู้ที่ได้รับ 🌷

          ก่อนเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ อาจารย์ได้ทบทวนบทเรียนที่เราได้เรียนกันไปแล้ว โดยการตั้งคำถามแล้วให้ช่วยกันตอบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ 







       การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึ่งประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำงานสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง 


          🌸 กระบวนการทำงานของสมอง 🌸 


ความรู้ต่างๆที่ได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


สมอง


เกิดการซึมซับ หรือ การรับรู้


วิเคราะห์


เกิดเป็นความรู้ใหม่ 

          เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้  


        🌸 สรุป 🌸

เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เกิดการเรียนรู้
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เด็กแค่รับรู้         







🌷 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 🌷


พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

🌟ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น

🌟ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่





🌸ประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น 🌸
ได้แก่

     1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น

     2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

     3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

     4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

     5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

     6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน






🌸กระบวนการทางสติปัญญา🌸

มีลักษณะดังนี้

     1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

     2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น

     3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล



🌷คำศัพท์🌷

1. Balance              ความสมดุล
2. Process              กระบวนการ 
3. Conflict             ความขัดแย้ง
4. Acknowledge    รับรู้
5. Learning            เรียนรู้
6. Review              ทบทวน
7. Absorbing         การซึมซับ
8. Absorption        การดูดซับ
9. Concrete            รูปธรรม
10. Abstract           นามธรรม


🌷 แบบประเมิน 🌷

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคนพยายามช่วยกันตอบ ช่วยกันคิด ถึงบางคำตอบอาจจะผิด แต่ก็ไม่ลดละความพยายาม

ประเมินตนเอง : บางทีก็มีอาการงงๆกับเรื่องที่เรียนผ่านมาแล้ว ควรทบทวนบทเรียนมากกว่านี้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยายามยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพได้ชัดขึ้น











บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

22 กุมภาพันธ์ 2562



🍄 ความรู้ที่ได้รับ 🍄 

          วันนี้อาจารย์ ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่ได้รับมอบหลายของแต่ละกลุ่ม การทำป้ายชื่อ และได้ทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน 





🍄 นำเสนองาน  🍄




          จากอาทิตย์ก่อนหน้านั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มและช่วยกันทำแผนผังความคิด เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัน โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ 3 หัวข้อ คือ กิจกรรม สื่อ และ เทคนิค จากการที่ได้ชมการนำเสนอผลงานของทุกลุ่มแล้ว พอสรุปได้ว่า  

     🍉 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ 
     1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตาม
     2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ
     3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
     4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย
     5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
     6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

    🍉 เทคนิค คือ สิ่งที่ทำให้กิจกรรมเกิดขึ้นได้อย่างง่าย เป็นกระบวนการในกิจกรรมที่จะมีการนำเอา เกมการศึกษา นิทาน มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีความสนใจ และสนุกมากขึ้น 

    🍉 สื่อ คือ อุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในเทคนิค เช่น นิทาน เพลง การ์ตูน ของเล่น 









🍄กิจกรรม ปั้นดินน้ำมัน 🍄
     
            กิจกรรมนี้ อาจารย์ได้แจกดินน้ำมันให้คนละ 1 ก้อน แล้วให้ปั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตมา 1 อย่าง โดยปั้นเป็นแบบ 2 มิติ จากนั้น อาจารย์ให้นำไม่จิ้มฟัน มาให้เราคิดต่อไปอีกอีกว่า จากสิ่งรูปที่เราปั้นมานั้น จะทำอย่างไร ให้เด็กมองภาพออกได้ชัดเจนมากขึ้นว่าสิ่งที่เราปั้นมาในตอนแรกนั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตชนิดใด 



 



🍄กิจกรรม ทำป้ายชื่อ🍄

          กิจกรรมนี้ก็เปรียบเสมือนว่าเราเป็นคุณครูและทำป้ายชื่อให้กับเด็ก โดยการมีป้ายชื่อนั้น สามารถสอนคณิตศาตร์เด็กได้มากมาย ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการ สำรวจการมาเรียนของนักเรียน 
ตัวอย่างเช่น 

          การทำป้ายชื่อให้เด็กนักเรียนทุกคน และภานในห้องเรียน จะมีที่ติดป้ายชื่อ เมื่อเด็กมาถึงห้องเรียนแล้วก็ในนำป้ายชื่อของตนเองมีติดไว้ โดยเด็กผู้ชายจะเป็นที่ติดสีฟ้า นักเรียนหญิงเป็นสีชมพู ส่วนการสอนคณิตศาสตร์จากป้ายชื่อนั้น ก็จะเป็นการให้เด็กๆได้เปรียบเทียบจำนวนว่าเด็กผู้หญิงหรือผู้ชายมาเยอะกว่ากัน เด็กๆม่เรียนกันกี่คน ขาดกี่คน ก็จะเป็นในเรื่องของดาร บวก ลบ เลข และการนับจำนวน 




🍄คำศัพท์ 🍄

1. Activities         กิจกกรม 
2. Media              สื่อ
3. Technique        เทคนิค 
4. Present            นำเสนอ
5. Name tag        ป้ายชื่อ
6. Sex                  เพศ
7. Compare         เปรียบเทียบ
8. Tale                 นิทาน
9. Survey            สำรวจ
10. Investigate    ตรวจสอบ 



🍄การประเมิน🍄 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรม และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองได้รับมอบหมายได้อย่างดี 

ประเมินตนเอง : ได้รับเทคนิคในใหม่ๆ ที่ง่าย ที่หลายคนมองข้ามไปว่า การทำป้ายชื่อก็เช็คจำนวนนักเรียนก็สามารถนำมาเป็นการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพยายามในการสื่อสารให้นักศึกษาทุกคนเข้าใจ สอนไปอย่างช้าๆ 





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

15 กุมภาพันธ์ 2562


🌽 ความรู้ที่ได้รับ 🌽

            วันนี้อาจารย์ให้พวกเราไปชมการจัดนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ที่พี่ๆได้ออกไปฝึกสอนแล้ว ในนิทรรศการนั้น มีทั้ง สื่อการสอนต่างๆ การทำวิจัยในชั้นเรียน การเขียนแผนการสอน การจัดการเรียนกันสอนในรูปแบบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงเรียน ก็มีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป 




🌽 การสอนแบบไฮสโคป 🌽

          การสอนแบบไฮสโคป  เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ. จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ 
(Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

        🌼 แนวการสอนแบบไฮสโคป ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

     1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

     2.การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง

     3.การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

          🌼 ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป

     สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้าง
ความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
    จากการดูการสอนของไฮสโคปเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เป็นการจัดการสอนที่ดีเด็กได้ลงมือกระทำซึ่งหนูได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ไปชมนิทรรศการ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น




🌽โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักค่านิยม  12 ประการ🌽


         🌼 ค่านิยม 12 ประการ
1. ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน  มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม  รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ  รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรง 
กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง


          ค่านิยมของคนไทย 12ประการ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น บันไดคุณธรรม ลูกเต๋ามหัศจรรย์ ศิลปะสร้างสรรค์เด็กมีคุณธรรม ดนตรีบรรเลงบทเพลงค่านิยม วงล้อมหาสนุก รถไฟพาเพลิน










🌽การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงงาน🌽
🌽 Project Approach🌽


         การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง
การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันมุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้เบื้องต้น ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
          และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ 
ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้


          🌼 ลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ
2. ผู้เรียนทำการสำรวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สำรวจ สืบค้น หรือทดลอง และบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย
3. ผู้เรียนตอบคำถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ผลจากการสำรวจตรวจสอบมาสร้างคำอธิบายที่มีเหตุผล
4. การนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบให้กับผู้อื่นด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ

          🌼 ประโยชน์ของการทำโครงงาน
1. ฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง
2. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล
3. เป็นการฝึกฝนให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้ง
4. ทำให้ได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง
5. ทำให้นักเรียนสนใจในรายวิชานั้นๆ มากยิ่งขึ้น
6. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์







🌽โครงการฟาร์มของพ่อหลวง🌽

        เป็นการจัดประสบการณ์จำลองทำให้เสมือนจริงอย่างเช่น กองฟาง ต้นข้าว ดวงอาทิตย์ พืชต่างๆเหล่านี้ทำมาจากสิ่งของที่เหลือใช้นำมาดัดแปลงเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เพื่อให้เด็กได้สนุกไปกับการจินตนาการถึงสิ่งต่างๆจากสิ่งที่พวกเขาได้เห็น 





🌽 คำศัพท์ 🌽

1. Exhibition                   นิทรรศการ
2. Project Approach        การสอนแบบโครงงาน
3. Review                        การทบทวน
4. Classroom research     การวิจัยในชั้นเรียน
5. Plan                             การวางแผน
6. Practice                       การปฎิบัต
7. Values                         ค่านิยม
8. Honest                        ซื่อสัตย์
9. Grateful                      กตัญญู
10. Discipline                 มีวินัย 

🌽 การประเมิน 🌽

ประเมินตนเอง : วันนี้ได้เข้าชมนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ทำให้ตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น ในเรื่องการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่รุ่นพี่อธิบาย และ มีความสนใจกับสื่อต่างๆที่ได้ชม 

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆในรูปแบบของพี่สอนน้อง ทำให้เถข้าใจอะไรได้มากขึ้น และได้แนวทางในการเรียนมากขึ้น