วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

8 กุมภาพันธ์  2562

🍎 ความรู้ที่ได้รับ 🍎

วันนี้อาจารย์ให้ทั้ง 2 เซคเรียน มาเรียนรวมกัน เพื่อที่จะมาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยกิจกรรมมีดังนี้ 






       🍒  กิจกรรม " แนะนำตัวเอง " 🍒

   

     อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้เราเขียนแนะนำตัวเอง โดยมีหัวข้อกำหนด คือ ครอบครัว ตัวฉัน ความสามารถพิเศษ และ ประโยชน์ของตอนเอง อาจารย์ให้เราเขียนโดยไม้ได้กำหนดว่าให้เขียนออกมาในรูปแบบใดณุปแบบหนึ่ง แต่ให้เราออกแบบเองว่าจะเขียนออกมาเป็นแบบใด เพื่อให้เรา นำเสนอสิ่งที่เป็นตัวเราเอง ออกมาโดยไม่มีข้อกำหนด  

          


          🍒  กิจกรรม " การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ " 🍒

     

     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน และให้กระดาษปรู๊ฟมากลุ่มละ 1 แผ่นใหญ่ เพื่อให้เราเขียนเกี่ยวกับ วิธีการจัดประสบการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยกำหนดสิ่งที่ต้องมี 3 สิ่ง คือ  กิจกรรมทางคณิตศาสตร์  สื่อทางคณิตศาสตร์ และ เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์  เมื่อกำหนดหัวข้อมาแล้ว ก็จะได้ดังนี้ 




🍇 กิจกรรม 🍇

หลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้

     👉 1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

     👉 2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

     👉 3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน

     👉 4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

     👉 5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

     👉 6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

     👉 7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ

     👉 8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน



🍇 สื่อ 🍇



นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงานหมูที่อยู่ บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

          นิทานเรื่องนี้ จะสอนเกี่ยวกับ การนับจำนวน การบวกเลข และสอนในเรื่องของรูปทรงต่างๆให้เด็กๆ 



🍇 เทคนิคการสอน 🍇

     👉 Step 1 สำหรับเด็กอนุบาลที่เพิ่งเริ่มรู้จักคณิตศาสตร์ เกมง่ายๆ เช่น เกมจับคู่เหมือน การต่อบล็อกทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ ให้ได้ความสมดุล การโยงเส้นจับคู่จุดเด่นระหว่างแม่สัตว์กับลูกสัตว์ เพื่อให้เห็นภาพรวมของจำนวน หรือความสมเหตุสมผลอย่างแท้จริงก่อน

     👉 Step 2 การตั้งโจทย์ เช่น 3 + 5 บนกระดาษสมุด อาจยากไปสำหรับเจ้าหนู แต่ถ้าสร้างให้เห็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กมองภาพจำนวนที่เกิดขึ้นจริง เช่น แอปเปิ้ล 5 ผล บวกกับส้ม 4 ผล จะทำให้เด็กเข้าใจการบวกหรือการรวมกันมากขึ้น

     👉 Step 3 การแทนค่าเป็นกลุ่มทำให้เด็กเข้าใจและนับเลขได้ง่ายขึ้น เช่น 10 20 30 40....หรือ 5 10 15 20






🍎 คำศัพท์ 🍎

1. Newsprint             กระดาษหนังสือพิมพ์
2. Size of paper         ขนาดของกระดาษ
3. Step                       ขั้นตอน
4. Technique             เทคนิค 
5. Question               โจทย์ปัญหา 
6. Teaching               การสอน
7. Match                   การจับคู่
8. Arrangement        การจัดลำดับ
9. Measurement       การวัด
10. Classification     การจัดหมวดหมู่ 



🍎 การประเมิน 🍎

ประเมินเพื่อน : วันนี้เป็นการเรียนรวมกันของทั้ง 2 เซคเรียน ทำให้ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น

ประเมินตนเอง : วันนี้ได้ร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม ได้แบ่งหน้าที่กัน และช่วยแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ เป็นสิ่งที่ดีในการทำงานร่วมกัน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายถึงเนื้อหากิจกรรมที่จะทำได้เข้าใจ และ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่