วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

15 กุมภาพันธ์ 2562


🌽 ความรู้ที่ได้รับ 🌽

            วันนี้อาจารย์ให้พวกเราไปชมการจัดนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ที่พี่ๆได้ออกไปฝึกสอนแล้ว ในนิทรรศการนั้น มีทั้ง สื่อการสอนต่างๆ การทำวิจัยในชั้นเรียน การเขียนแผนการสอน การจัดการเรียนกันสอนในรูปแบบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละโรงเรียน ก็มีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป 




🌽 การสอนแบบไฮสโคป 🌽

          การสอนแบบไฮสโคป  เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ. จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ 
(Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

        🌼 แนวการสอนแบบไฮสโคป ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

     1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

     2.การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง

     3.การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

          🌼 ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป

     สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้าง
ความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
    จากการดูการสอนของไฮสโคปเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เป็นการจัดการสอนที่ดีเด็กได้ลงมือกระทำซึ่งหนูได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ไปชมนิทรรศการ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น




🌽โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักค่านิยม  12 ประการ🌽


         🌼 ค่านิยม 12 ประการ
1. ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน  มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม  รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ  รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรง 
กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง


          ค่านิยมของคนไทย 12ประการ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น บันไดคุณธรรม ลูกเต๋ามหัศจรรย์ ศิลปะสร้างสรรค์เด็กมีคุณธรรม ดนตรีบรรเลงบทเพลงค่านิยม วงล้อมหาสนุก รถไฟพาเพลิน










🌽การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงงาน🌽
🌽 Project Approach🌽


         การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง
การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันมุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้เบื้องต้น ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
          และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ 
ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้


          🌼 ลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 
สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ
2. ผู้เรียนทำการสำรวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สำรวจ สืบค้น หรือทดลอง และบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย
3. ผู้เรียนตอบคำถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ผลจากการสำรวจตรวจสอบมาสร้างคำอธิบายที่มีเหตุผล
4. การนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบให้กับผู้อื่นด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ

          🌼 ประโยชน์ของการทำโครงงาน
1. ฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง
2. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล
3. เป็นการฝึกฝนให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้ง
4. ทำให้ได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง
5. ทำให้นักเรียนสนใจในรายวิชานั้นๆ มากยิ่งขึ้น
6. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์







🌽โครงการฟาร์มของพ่อหลวง🌽

        เป็นการจัดประสบการณ์จำลองทำให้เสมือนจริงอย่างเช่น กองฟาง ต้นข้าว ดวงอาทิตย์ พืชต่างๆเหล่านี้ทำมาจากสิ่งของที่เหลือใช้นำมาดัดแปลงเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เพื่อให้เด็กได้สนุกไปกับการจินตนาการถึงสิ่งต่างๆจากสิ่งที่พวกเขาได้เห็น 





🌽 คำศัพท์ 🌽

1. Exhibition                   นิทรรศการ
2. Project Approach        การสอนแบบโครงงาน
3. Review                        การทบทวน
4. Classroom research     การวิจัยในชั้นเรียน
5. Plan                             การวางแผน
6. Practice                       การปฎิบัต
7. Values                         ค่านิยม
8. Honest                        ซื่อสัตย์
9. Grateful                      กตัญญู
10. Discipline                 มีวินัย 

🌽 การประเมิน 🌽

ประเมินตนเอง : วันนี้ได้เข้าชมนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ทำให้ตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น ในเรื่องการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่รุ่นพี่อธิบาย และ มีความสนใจกับสื่อต่างๆที่ได้ชม 

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆในรูปแบบของพี่สอนน้อง ทำให้เถข้าใจอะไรได้มากขึ้น และได้แนวทางในการเรียนมากขึ้น 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น