วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

25 มกราคม 2562


🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼


  👽 กิจกรรมการทำสื่อ 👽

📏 อุปกรณ์การทำสื่อ 
1. กระดาษเทาขาวแผ่นใหญ่
2. กรรไกร มีดคัตเตอร์
3. ดินสอ ปากกาเคมีสีต่างๆ
4. ไม้บรรทัด

📏 วิธีการทำ 

👉 ขันตอนที่ 1 : นำกระดาษเทาขาวมาตั้งแบ่งเป็น 4 ส่วนให้เท่าๆกัน เพื่อที่จะแบ่งกับเพื่อนๆ ให้ได้ 4 คน คนละ 1 ชิ้น






👉 ขั้นตอนที่ 2 : นำกระดาษที่ได้มาวัดเป็นช่องสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความยาวด้านละ 2 นิ้ว โดนมี 2 แถว แถวละ 10 ช่อง คือจะได้ช่องสี่เหลี่ยมจตุรัส ทั้งหมด 20 ช่อง และทำเหมือนกันอีก 1 ชุด 



👉 ขั้นตอนที่ 3 : นำกระดาษที่เหลือมาทำส่วนต่อไป ซึโดยนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง และเขียน หน่วย และ สิบ ในช่องข้างบน 


👉 ขั้นตอนที่ 4 : นำกระดาษทั้ง 2 แผ่นมาต่อกัน โดยนำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้ 

👉 ขั้นตอนที่ 5 : ใช้กระดาษที่เหลือ มาแบ่งครึ่ง จะได้ 2 แถว จากนั้นวัดความยาวให้ได้ช่องละ 2 นิ้ว ก็ได้ได้ แถวละ 10 ช่อง เขียนตัวเลข 0-9 ลงไป ช่องละ 1 ตัวเลข แล้วตัดออก 



💟 สื่อที่ได้ 💟





👽 กิจกรรมที่ 2 👽

     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มนึงจะมี 13 คน และอีกลุ่มจะมี 14 คน เมื่อแบ่งกลุ่มแล้ว ก็ให้นั่งเป็นวงกลม ภายในวงกลมจะมีดินน้ำมันหลากหลายสี 




จากนั้้น อาจารย์ ให้สมาชิกในกลุ่ม ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปผลไม้อะไรก็ได้ มาคนละชนิด เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้นำผลไม้ของตนเองมาวางไว้บนสื่อที่เราทำกันไว้ 



     จากนั้น อาจารย์ ให้แบ่งผลไม้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์อะไรก็ได้ในการแบ่ง กลุ่มของดิฉันใช้ ผลไม่ที่เป็นทรงกลมเป็นเกณฑ์ และ อีกรอบ เราใช้เกณฑ์ ผลไม้ที่มีสีแดงในการแบ่งกลุ่ม 


     จากนั้นอาจารย์ให้นับจำนวน และ เปรียบเทียบกันว่ากลุ่มไหนมีผลไม้มากกว่า โดยวิธีการหยิบออก แบบ 1 ต่อ 1 ถ้ากลุ่มไหนหมดก่อน คือ กลุ่มนั้นมีน้อยกว่า กลุ่มไหนยังเหลือ คือกลุ่มนั้นมีมากกว่า  เพื่อให้เด็กเห็นเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น 




👽 คำศัพท์ 👽

1. Fruit                        ผลไม้
2. Mangosteen            มังคุด
3. Manila tamarind     มะขามเทศ
4. Grapefruit               ส้มโอ
5. Number                   จำนวน
6. Plus                         การบวก
7. Minus                      การลบ
8. Shape                      รูปทรง 
9. Sphere                     ทรงกลม
10. Count                    จำนวนนับ




👽 การประเมิน 👽

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายการทำสื่ออย่างละเอียดทำให้เข้าใจและได้สอน  ปฎิบัติจริงในเรื่องวิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยทำให้เรียนรู้ได้ดี

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละคน ตั้งใจทำสื่อส่วนบางคนทำเสร็จก่อนเพื่อนๆคนอื่นๆ ได้ช่วยกันสอน

ประเมินตนเอง : วันนี้ได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทำให้รู้ว่าการทำสื่อไม่ยากอย่างที่คิดได้ฝึกทำและทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมันได้ฝึกคิด และได้วิธีการสอนให้เด็กๆ เข้าใจได้ง่าย 









วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

18 มกราคม 2562


🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼

     ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งทำให้เรารู้ว่าวิชานี้เรียนอะไรบ้าง และงานที่อาจารย์ได้มอบหมายในรายวิชานี้มีอะไรบ้างทำให้เราได้รู้ล่วงหน้าในการเตรียมตัว  สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมี BLOGGER ของตนเอง ซึ่งแต่ละคาบจะต้องบันทึกลงทุกครั้ง และมีการจดคำศัพท์  10 คำ  มีการประเมินในห้องเรียน

     หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดรายละเอียดของบล็อกซึ่งอาจารย์เปิดดูของแต่ละคนและได้บอกว่าควรไปปรับหรือแก้ไขตรงไหนบ้างทำให้ทุกคนได้รู้ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางการแก้อย่างถูกต้อง 





🌴 แผนผังความคิด🌴






      อาจารย์ได้ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Mind map หัวข้อเรื่อง  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ให้แยกออกมาเป็น  3 หัวข้อหลัก ดังนี้  การจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์   เด็กปฐมวัย  แต่ละหัวข้ออาจารย์ได้บอกแนวทางและช่วยกันคิด  





🌴 การทำงานของสมอง  🌴

      มีนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ เพียเจท์  แบนดรูรา   ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของนักทฤษฎีเพียเจท์ กล่าวไว้ว่า  แรกเกิด - 2ปี  เด็กใช้ประสาทสัมผัมทั้ง 5 มากที่สุด เด็กมีพฤติกรรมแบบนี้ตือต้องการลงมือกระทำกับวัตถุต่างๆ




🌴 บรรยากาศในห้องเรียน 🌴







🌴 คำศัพท์  🌴

1. Mathematics                            คณิตศาสตร์
2. Experience  arrangement        การจัดประสบการณ์
3. Brain  function                        การทำงานของสมอง
4. Development                          พัฒนาการ
5. Geometry                                รูปทรงเรขาคณิต
6. Learning                                 เรียนรู้
7. Comparison                            การเปรียบเทียบ
8. Learning  by doing                 การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ
9. Behavior                                 พฤติกรรม 
10.  mind map                             แผนผังความคิด





















สื่อการสอนคณิตศาสตร์


🌻 ตัวอย่างสื่อการสอน 🌻



🌼 สื่อคณิตศาสตร์ 🌼 



✿ นิทาน เรื่อง แบ่งปันกันให้สนุก ✿

     นิทานเรื่องนี้ สอนให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนับเลข บวกเลข และลบเลข โดยวิธีการง่ายๆ และมีภาพประกอบเพื่อให้เด็กๆเห็นภาพและนับตามเพื่อง่ายต่อการจดจำ นอกจากนี้ นิทานเรื่องนี้ยังสอดแทรกในคุณธรรมในเรื่องของการแบ่งปัน การมีน้ำใจให้เด็กๆอีกด้วย  





✿ เพลง จับปูม้า ✿

เพลงจับปูม้า เป็นเพลงสำหรับหัดนับเลข 1-10 ที่น่ารักมากๆ มีการชูมือให้เด็กๆ ลองชูมือขึ้นมานับตาม












ตัวอย่างการสอน


😃 สรุปตัวอย่างการสอน 😃 



🌻 ตัวอย่างการสอน 🌻



                                         🌸  เรียนรู้การบวกเลขหนึ่งหลัก ( อนุบาล 2 )🌸


🍀 สรุปตัวอย่างการสอน 🍀

     เด็กอนุบาลเวลาที่เขาเรียน เขาจะยังไม่ใช้ในส่วนของความคิดเยอะเขายังไม่สามารถจินตนาการได้มาก ในการเรียนรู้ของเขาจะใช้ความจำเป็นหลัก การสอนจึงเป็นการทำซ้ำ สอนซ้ำๆให้เขาจำได้ 

วิธีการสอน
     1. เอาเลขมาไว้ในใจ 
     2. ชูนิ้วขึ้นมาให้เท่ากับจำนวนที่เอามาบวก
     3. นับต่อจากเลขที่อยู่ในใจ 



งานวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์


🌻 สรุปงานวิจัย 🌻




 🌸การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม 🌸


ชื่อผู้จัดทำ              ประจักษ์ เอนกฤทธิ์มงคล
อาจารย์ที่ปรึกษา    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี ทองเอม
สาขาวิชา                หลักสูตรและการสอน
ปีการศึกษา             2559


🍀วัตถุประสงค์🍀
1.เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม
2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


🍀ขอบเขตการวิจัย🍀
 กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 15 คนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเศรษฐวิทย์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อหาทักษะทางคณิตศาสตร์ 5 ด้านดังนี้
2.1. การบอกตำแหน่ง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 - 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 - 20
2.4. การเพิ่ม - ลด ภายในจำนวน 1 - 10


✿ตัวแปรต้น✿

 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.1. การบอกตำแหน่ง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 - 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 - 20
2.4. การเพิ่ม - ลด ภายในจำนวน 1 - 10

ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การจัดหมวดหมู่
3.การจำแนกแจกแจง
4.การเรียงลำดับ
5.การเปรียบเทียบ

✿ตัวแปรตาม✿
1.ความสามารถคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์
3.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม


🍀สรุปผลการวิจัย🍀
จากการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.ผลการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมพบว่าภาพรวมจากการใช้แบบชุดกิจกรรมห้าชุดมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 12คน คิดเป็นร้อยละ 80 และมีเด็กนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 20
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์พบว่าภาพรวมจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสทั้งห้าชุดมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100
3. ผลการศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่ากิจกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 คือ 83.20 / 100



บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

🌼 สรุปบทความ 🌼


💜 บทความ  การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 💜


⭐ผู้เขียน ⭐
            นางสาว อนงค์ ลิ้มสกุล


🌴สรุปบทความ 🌴

          ในการสอนคณิตศาสตร์  สำหรับ เด็กอนุบาลต้องใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นกับเด็กเช่นเล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ แสดงท่าทางประกอบคำคล้องจองตัวอย่างเช่นการสอนจำนวนตัวเลขต้องให้เด็กจำตัวเลขได้ ว่าตัวเลขอะไรมีรูปร่างแบบไหน เช่นอาจให้เด็กท่องคำคล้องจองได้ประกอบท่าทาง จากนั้นก็ให้เด็กรู้ค่าของจำนวนตัวเลขว่าตัวเลขมีค่าเท่าไร โดยการให้นับของเล่น ของใช้ของเด็กภายในห้องเรียน การนับ 1-10  อาจสอนโดยให้เด็กนับเพิ่มนับลด สร้างเหตุการณ์  หรือบทบาทสมมุติให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนไปด้วย


💜💜💜





วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


12 มกราคม 2562



🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼

      วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานซึ่งให้นักศึกษาสร้าง BLOGGER  เป็นของตนเองในรายวิชานี้และอาจารย์ได้บอกถึงองค์ประกอบของ BLOGGER มีดังนี้

   
    🌳  1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก

    🌳  2.รูปและข้อมูลผู้เรียน

    🌳  3.ปฏิทินและนาฬิกา

    🌳  4.เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน  , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน
งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  , บทความที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอน , สื่อคณิตศาสตร์

    🌳  5. ลิงก์  BLOGGER  ของเพื่อนไว้ทุกคน