วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

19 เมษายน 2562


🌵 ความรู้ที่ได้รับ 🌵

          วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวมกันทั้ง 2 เซคเรียน โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ  1 แผ่น จากนั้นอาจารย์ ให้เข้าไปศึกษาข้อมูลใน กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย จากนั้นอาจารย์ให้สรุปเนื้อหาภายในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงในกระดาษที่แจกให้ 












🌵 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 🌵


          🍉 ความสำคัญทางคณิตศาสตร์ 🍉

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ และสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณติศาสตร์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพยงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 



         🍉 สาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย 🍉
  • จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม และ การแยกกลุ่ม 
  • การวัด  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  • เรขาคณิต  ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
  • พีชคณิต  แบบรูปและความสัมพันธ์
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ 
  • ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ


       🍉 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 🍉

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จะใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



           🍉 คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 🍉

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking ) มีความเข้าใจพื้นฐสนและมีพัฒนาการด้สนความรู้เชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับ 1 - 20 เข้าใจหลักการการนับ
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตารฐานรู้จักเหรียญและธนบัตร 
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง จำแนกรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปทีี่มีรุปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง 
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย 
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น


         🍉 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 🍉
   
     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 - 5 ปี ควรจัดในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการเล่นเพื่อให้เด้กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะขบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์





🌵 บรรยากาศในห้องเรียน 🌵













🌵 คำศัพท์ 🌵

1. Standard               มาตรฐาน
2. Mathematics        คณิตศาสตร์
3. Importance           ความสำคัญ
4. Subject                  สาระ
5. Mathematical Thinking   ความคิดเชิงคณิตศาสตร์
6. Length                  ความยาว
7. Weight                 น้ำหนัก
8. Volume                ปริมาตร
9. Geometry             เรขาคณิต
10. Algebra              พีชคณิต




🌵 การประเมิน 🌵

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ทำช้าบ้าง

ประเมินเพื่อน : เนื่องจากเพื่อนๆมารวมกันหลายคน ทำให้มีเสียงดังบ้าง แต่เพื่อนก็ตั้งใจทำงานกันดี 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จะคอยให้นำงานไปให้ดูแล้วบอกให้เพิ่งเติมตรงไหน อย่างไร








วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

22 มีนาคม 2562




          จากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้แยกย้ายกันไปทำสื่อที่ตนเองได้รับมอบหลายให้เสร็จ แล้วนำมาส่งพร้อมนำเสนอในวันนี้ โดยมีการนำเสนอดังนี้

     🌼   กลุ่มที่1  เรื่องตัวเลข
     🌼   กลุ่มที่2  จำนวน
     🌼   กลุ่มที่3  การวัด
     🌼   กลุ่มที่4  กราฟแท่ง
     🌼   กลุ่มที่5  กราฟเส้น
     🌼   กลุ่มที่6  ความสัมพันธ์สองเเกน
     🌼   กลุ่มที่7  คานดีดจากไม้
     🌼   กลุ่มที่8  ร้อยลูกปัดฝาขวด
     🌼   กลุ่มที่9  บวกเลขจากภาพ














🐝 คำศัพท์ 🐝

1. Objective          วัตถุประสงค์
2. Relationship     ความสัมพันธ์
3. Creativity         ความคิดสร้างสรรค์
4. Train                กำหนด
5. Comment         แสดงความคิดเห็น
6.Reason              เหตุผล
7. Observance      การสังเกต
8. Listening          รับฟัง
9. Line graph        กราฟเส้น
10. ฺBar graph       กราฟแท่ง




🐝 การประเมิน 🐝

ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นในการออกไปนำเสนอผลงานเล็กน้อย แต่ก็พูดอธิบายถึงวิธีการใช้ และสาธิตวิธีการใช้ได้ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ออกมานำเสนอผลงานของตนเองได้เป็นอย่างดี มีการอธิบายถึงวิธีการเล่น น้อมรับคำชมและข้อเสนอแนะของอาจารย์และเพื่อนๆ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สนใจในสิ่งที่นักศึกษานำเสนอ และคอยมีข้อซักถาม พอนักศึกษานำเสนอเสร็จ ก็จะบอกถึงข้อดีและข้อควรปรับปรุงของชิ้นงานแต่ละชิ้น 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

15 มีนาคม 2562

   

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแยกย้ยกันไปทำสื่อที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย โดยกลุ่มของดิฉัน ได้รับมอบหมายให้ทำสื่อ โดมิโน โดยมีอุปกรณ์ และ วิธีการทำดังนี้




🐧 สื่อ โดมิโน 🐧 

🍃 อุปกรณ์ 

 1. กระดาษชานอ้อย
 2. ฝาขวดน้ำ
 3. ขวดน้ำ
 4. กระดาษแข็งสีต่างๆ
 5. ปากกาเคมี
 6. กรรไกร
 7. คัตเตอร์
 8. สีน้ำ
 9. เทปกาว
 10. กาว


🍃 วิธีการทำ 

1. ตัดขวดน้ำให้ห่างออกจากปากขวดเล็กน้อย

2. ตัดกระดาษชานอ้อย ให้มีขนาดเท่า กระดาษ A4 ทั้งหมด 6 แผ่น

3. นำกระดาษชานอ้อยที่ตัดแล้วมามาแบ่งเป็นช่อง โดนช่องบนไว้สำหรับใส่โจทย์ ช่องข้างล่างสำหรับวางขวดน้ำ จากนั้นแบ่งช่องออกเป็น 9 ช่อง โดยแต่ละช่องต้องพอดีกับขวดที่เราตัดไว้ แล้วตีเส้นตามช่อง

4. นำกระดาษชานอ้อย 3 แผ่น มาตัดเป็น 2 ช่อง ช่องบนสำหรับใส่โจทย์ ช่องล่างสำหรับใส่ขวดจากนั้นนำกระดาษชานอ้อนที่ไม่ได้ตัดมาประกบกันแล้วติดกาว

5. เมื่อกระดาษแห้งแล้วให้นำขวดน้ำมาติดลงบนกระดาษที่ได้ทำการแบ่งช่องไว้

6. ตัดกระดาษสีเป็นวงกลมตามขนาดของฝาขวดน้ำให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้น น้ำกระดาษที่ตัดเสร็จแล้ว มาติดที่บนฝาขวดน้ำ

7. นำกระดาษแข็งสีขาวมาตัดให้ได้ขนาดเท่ากับช่องโจทย์ จากนั้นสีเส้นตรงกลางให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสและแบ่งเป็น 9 ช่อง จากนั้นใช้กระดาษสีมาติดเพื่อที่จะทำโจทย์ โดยที่สามารถคิดโจทย์ได้ตามต้องการ











🐧 คำศัพท์ 🐧

1. Learning media    สื่อการเรียนรู้
2. Equipment            อุปกรณ์
3. How to                   วิธีการทำ
4. Bagasse paper       กระดาษชานอ้อย 
5. Divide                   แบ่งช่อง
6. Bottle                    ขวดน้ำ
7. Water color           สีน้ำ 
8. Sticky tape            เทปกาว
9. Problems               โจทย์ปัญหา
10. Squares                สี่เหลี่ยม 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

13 มีนาคม 2562




 🐙 ความรู้ที่ได้รับ 🐙

         จากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ได้นักศึกษาได้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็ให้เขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง  และอาจารย์ได้นัดศึกษามาประชุม และจัดหาอุปกรณ์ในการทำให้ และแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มก็ได้มารับอุปกรณ์ที่กลุ่มของตัวเองต้องใช้ผลิตสื่อ แล้วนำกลับไปทำ
อาจารย์ก็นัดวันส่งสื่อในวันที่ 22 มีนาคม 2562






และอาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเพิ่มเติมสำหรับคนไหนไม่เข้าใจ และชี้แจ้งเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ขาด ให้เขียนลงในกระดาษ แล้วอาจารย์จะจัดหาอุปกรณ์ในการสื่อให้กับนักศึกษา



🐙 คำศัพท์ 🐙

1. Equipment          อุปกรณ์
2. Plan                     การวางแผน
3. Step                     ขั้นตอน
4. Scissors              กรรไกร
5. Glue                    กาว 
6. Cutter                 มีดคัตเตอร์
7. Cutting pad         แผ่นลองตัด
8. Chemical pen      ปากกาเคมี
9. Ruler                    ไม้บรรทัด
10. Paper                  กระดาษ


🐙 แบบประเมิน 🐙

ประเมินตนเอง : มีการเตรียมความพร้อม โดยการจดลายการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ทำให้ได้อุปกรณ์ที่ต้องใช้โดยไม่ตกหล่น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนหยังของที่ตัวเองต้องการอย่างเป็นระเบียบ มีการเอื้ออาทรต่อกัน มีการแบ่งปันกันและเสียสละให้กัน บางคนมีความเสียสละมาก คอยนับของให้ และคอยเช็คจำนวนให้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการอำนวยความสดวกในการจัดการเรียนการสอน และ คอยสนับสนุนทั้ง อุปกรณ์ และการให้คำปรึกษาในการทำงานทุกขั้นตอน