วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 3 พฤษภาคม 2562




🐓 ความรู้ที่ได้รับ 🐓


🍍 แผนผังความคิด สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ 🍍

          จากอาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ได้ให้กลับไปสรุปเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เป็นแผนผังความคิด ได้ดังนี้ 





          ในวันนี้อาจารย์ให้นำแผนผังความคิดมาตรวจสอบความถูกต้องในการเขียนแผนผังและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีกาเขียนแผนผังความคิดที่ถูกต้อง และเข้าใจง่าย มาใช้ในการปรับปรุงให้ถูกต้อง โโยการเขียนแผนผังนั้น จะมีการแยกออกที่คล้ายๆกับเส้นในในสมองของเรา ที่มีการแตกสายออกไปเรื่อยๆ



🍍 แผนผังความคิด เรื่อง ไก่ 🍍

          ต่อมาอาจารย์ได้แจกกระดาษมาคนละ 1 แผ่น อาจารย์ให้ทำแผนผังความคิดเกี่ยวกับไก่ ตามความคิดและความเข้าใจของเราเอง ผลงานจึงออกมาเป็นดังนี้ 




เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ให้นำไปส่ง แล้วอาจารย์ก็ตรวจดูความเรียบร้อย จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการเขียนแผนผังความคิดอีกครั้ง โดยให้ดูจากผลงานที่พวกเราได้ทำกัน




จากนั้นอาจารย์ได้ให้ช่วยกันคิดว่า เราสามารถสอนคณิตศาสตร์จากหน่อวย ไก่ ได้อย่างไรบ้าง

          1. เรื่องของจำนวน ให้เด็กๆนับว่าไก่ที่ยกตัวอย่างมามีกี่ชนิด มีกี่ขา 
          2. เรื่องของเรขาคณิต  ให้เด็กสังเกตลักษณะลำตัวของไก่ ว่ามีลักษณะคล้ายรูปทรงเรขาคณิตรูปใด
          3. เรื่องของการวัด  ให้เด็กสังเกตขนาดของไก่ 



🍍 แผ่นพับรายงานผู้ปกครอง 🍍


         จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำกิจกรรม หรือการจัดกิจกรรมในหน่วยต่างๆ โดยมีหัวข้อหลักๆ ดังนี้ 

          1. หน้าปก
          2. เป็นการบอกว่าจะจัดการเรียนการสอนในเรื่องอะไร และต้องการให้ผู้ปกครองช่วยอะไร 
          3. บอกถึงข้อมูลของหน่วยที่เราจะจัดการเรียนการสอน 
          4. เป็นข้อเสนอแนะในการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสอนเด็กที่สามารถทำได้ที่บ้าน
          5. เป็นเกมส์ หรือ แบบฝึกหัดให้เด็กได้ฝึกทำ 









🍍 การประเมิน 🍍

ประเมินตนเอง : มีความสนใจในการฟัง และสามารถตอบที่อาจารย์ถามได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงาน และทำงานส่งตรงตามเวลา มีความช่วยเหลือกัน พยายามช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ค่อยๆสอนๆไปอย่างช้า ไม่รีบเร่ง ไม่เข้าใจตรงไหน ก็ย้อนกลับมาอธิบายให้เข้าใจไปพร้อมๆกัน








          


วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

19 เมษายน 2562


🌵 ความรู้ที่ได้รับ 🌵

          วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวมกันทั้ง 2 เซคเรียน โดยอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ  1 แผ่น จากนั้นอาจารย์ ให้เข้าไปศึกษาข้อมูลใน กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย จากนั้นอาจารย์ให้สรุปเนื้อหาภายในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงในกระดาษที่แจกให้ 












🌵 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 🌵


          🍉 ความสำคัญทางคณิตศาสตร์ 🍉

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ และสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณติศาสตร์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพยงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 



         🍉 สาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย 🍉
  • จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม และ การแยกกลุ่ม 
  • การวัด  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  • เรขาคณิต  ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
  • พีชคณิต  แบบรูปและความสัมพันธ์
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ 
  • ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ


       🍉 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 🍉

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จะใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



           🍉 คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 🍉

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking ) มีความเข้าใจพื้นฐสนและมีพัฒนาการด้สนความรู้เชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับ 1 - 20 เข้าใจหลักการการนับ
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตารฐานรู้จักเหรียญและธนบัตร 
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง จำแนกรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปทีี่มีรุปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง 
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย 
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น


         🍉 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 🍉
   
     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3 - 5 ปี ควรจัดในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการเล่นเพื่อให้เด้กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะขบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์





🌵 บรรยากาศในห้องเรียน 🌵













🌵 คำศัพท์ 🌵

1. Standard               มาตรฐาน
2. Mathematics        คณิตศาสตร์
3. Importance           ความสำคัญ
4. Subject                  สาระ
5. Mathematical Thinking   ความคิดเชิงคณิตศาสตร์
6. Length                  ความยาว
7. Weight                 น้ำหนัก
8. Volume                ปริมาตร
9. Geometry             เรขาคณิต
10. Algebra              พีชคณิต




🌵 การประเมิน 🌵

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ทำช้าบ้าง

ประเมินเพื่อน : เนื่องจากเพื่อนๆมารวมกันหลายคน ทำให้มีเสียงดังบ้าง แต่เพื่อนก็ตั้งใจทำงานกันดี 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จะคอยให้นำงานไปให้ดูแล้วบอกให้เพิ่งเติมตรงไหน อย่างไร








วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

22 มีนาคม 2562




          จากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้แยกย้ายกันไปทำสื่อที่ตนเองได้รับมอบหลายให้เสร็จ แล้วนำมาส่งพร้อมนำเสนอในวันนี้ โดยมีการนำเสนอดังนี้

     🌼   กลุ่มที่1  เรื่องตัวเลข
     🌼   กลุ่มที่2  จำนวน
     🌼   กลุ่มที่3  การวัด
     🌼   กลุ่มที่4  กราฟแท่ง
     🌼   กลุ่มที่5  กราฟเส้น
     🌼   กลุ่มที่6  ความสัมพันธ์สองเเกน
     🌼   กลุ่มที่7  คานดีดจากไม้
     🌼   กลุ่มที่8  ร้อยลูกปัดฝาขวด
     🌼   กลุ่มที่9  บวกเลขจากภาพ














🐝 คำศัพท์ 🐝

1. Objective          วัตถุประสงค์
2. Relationship     ความสัมพันธ์
3. Creativity         ความคิดสร้างสรรค์
4. Train                กำหนด
5. Comment         แสดงความคิดเห็น
6.Reason              เหตุผล
7. Observance      การสังเกต
8. Listening          รับฟัง
9. Line graph        กราฟเส้น
10. ฺBar graph       กราฟแท่ง




🐝 การประเมิน 🐝

ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นในการออกไปนำเสนอผลงานเล็กน้อย แต่ก็พูดอธิบายถึงวิธีการใช้ และสาธิตวิธีการใช้ได้ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ออกมานำเสนอผลงานของตนเองได้เป็นอย่างดี มีการอธิบายถึงวิธีการเล่น น้อมรับคำชมและข้อเสนอแนะของอาจารย์และเพื่อนๆ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สนใจในสิ่งที่นักศึกษานำเสนอ และคอยมีข้อซักถาม พอนักศึกษานำเสนอเสร็จ ก็จะบอกถึงข้อดีและข้อควรปรับปรุงของชิ้นงานแต่ละชิ้น 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

15 มีนาคม 2562

   

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแยกย้ยกันไปทำสื่อที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย โดยกลุ่มของดิฉัน ได้รับมอบหมายให้ทำสื่อ โดมิโน โดยมีอุปกรณ์ และ วิธีการทำดังนี้




🐧 สื่อ โดมิโน 🐧 

🍃 อุปกรณ์ 

 1. กระดาษชานอ้อย
 2. ฝาขวดน้ำ
 3. ขวดน้ำ
 4. กระดาษแข็งสีต่างๆ
 5. ปากกาเคมี
 6. กรรไกร
 7. คัตเตอร์
 8. สีน้ำ
 9. เทปกาว
 10. กาว


🍃 วิธีการทำ 

1. ตัดขวดน้ำให้ห่างออกจากปากขวดเล็กน้อย

2. ตัดกระดาษชานอ้อย ให้มีขนาดเท่า กระดาษ A4 ทั้งหมด 6 แผ่น

3. นำกระดาษชานอ้อยที่ตัดแล้วมามาแบ่งเป็นช่อง โดนช่องบนไว้สำหรับใส่โจทย์ ช่องข้างล่างสำหรับวางขวดน้ำ จากนั้นแบ่งช่องออกเป็น 9 ช่อง โดยแต่ละช่องต้องพอดีกับขวดที่เราตัดไว้ แล้วตีเส้นตามช่อง

4. นำกระดาษชานอ้อย 3 แผ่น มาตัดเป็น 2 ช่อง ช่องบนสำหรับใส่โจทย์ ช่องล่างสำหรับใส่ขวดจากนั้นนำกระดาษชานอ้อนที่ไม่ได้ตัดมาประกบกันแล้วติดกาว

5. เมื่อกระดาษแห้งแล้วให้นำขวดน้ำมาติดลงบนกระดาษที่ได้ทำการแบ่งช่องไว้

6. ตัดกระดาษสีเป็นวงกลมตามขนาดของฝาขวดน้ำให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้น น้ำกระดาษที่ตัดเสร็จแล้ว มาติดที่บนฝาขวดน้ำ

7. นำกระดาษแข็งสีขาวมาตัดให้ได้ขนาดเท่ากับช่องโจทย์ จากนั้นสีเส้นตรงกลางให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสและแบ่งเป็น 9 ช่อง จากนั้นใช้กระดาษสีมาติดเพื่อที่จะทำโจทย์ โดยที่สามารถคิดโจทย์ได้ตามต้องการ











🐧 คำศัพท์ 🐧

1. Learning media    สื่อการเรียนรู้
2. Equipment            อุปกรณ์
3. How to                   วิธีการทำ
4. Bagasse paper       กระดาษชานอ้อย 
5. Divide                   แบ่งช่อง
6. Bottle                    ขวดน้ำ
7. Water color           สีน้ำ 
8. Sticky tape            เทปกาว
9. Problems               โจทย์ปัญหา
10. Squares                สี่เหลี่ยม 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

13 มีนาคม 2562




 🐙 ความรู้ที่ได้รับ 🐙

         จากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ได้นักศึกษาได้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็ให้เขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง  และอาจารย์ได้นัดศึกษามาประชุม และจัดหาอุปกรณ์ในการทำให้ และแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มก็ได้มารับอุปกรณ์ที่กลุ่มของตัวเองต้องใช้ผลิตสื่อ แล้วนำกลับไปทำ
อาจารย์ก็นัดวันส่งสื่อในวันที่ 22 มีนาคม 2562






และอาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเพิ่มเติมสำหรับคนไหนไม่เข้าใจ และชี้แจ้งเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ขาด ให้เขียนลงในกระดาษ แล้วอาจารย์จะจัดหาอุปกรณ์ในการสื่อให้กับนักศึกษา



🐙 คำศัพท์ 🐙

1. Equipment          อุปกรณ์
2. Plan                     การวางแผน
3. Step                     ขั้นตอน
4. Scissors              กรรไกร
5. Glue                    กาว 
6. Cutter                 มีดคัตเตอร์
7. Cutting pad         แผ่นลองตัด
8. Chemical pen      ปากกาเคมี
9. Ruler                    ไม้บรรทัด
10. Paper                  กระดาษ


🐙 แบบประเมิน 🐙

ประเมินตนเอง : มีการเตรียมความพร้อม โดยการจดลายการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ทำให้ได้อุปกรณ์ที่ต้องใช้โดยไม่ตกหล่น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนหยังของที่ตัวเองต้องการอย่างเป็นระเบียบ มีการเอื้ออาทรต่อกัน มีการแบ่งปันกันและเสียสละให้กัน บางคนมีความเสียสละมาก คอยนับของให้ และคอยเช็คจำนวนให้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการอำนวยความสดวกในการจัดการเรียนการสอน และ คอยสนับสนุนทั้ง อุปกรณ์ และการให้คำปรึกษาในการทำงานทุกขั้นตอน





วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

8 มีนาคม 2562




🌷 ความรู้ที่ได้รับ 🌷

          ก่อนเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ อาจารย์ได้ทบทวนบทเรียนที่เราได้เรียนกันไปแล้ว โดยการตั้งคำถามแล้วให้ช่วยกันตอบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ 







       การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเด็กจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึ่งประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำงานสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง 


          🌸 กระบวนการทำงานของสมอง 🌸 


ความรู้ต่างๆที่ได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


สมอง


เกิดการซึมซับ หรือ การรับรู้


วิเคราะห์


เกิดเป็นความรู้ใหม่ 

          เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้  


        🌸 สรุป 🌸

เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เกิดการเรียนรู้
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เด็กแค่รับรู้         







🌷 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 🌷


พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

🌟ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น

🌟ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่





🌸ประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น 🌸
ได้แก่

     1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น

     2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

     3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

     4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

     5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

     6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน






🌸กระบวนการทางสติปัญญา🌸

มีลักษณะดังนี้

     1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

     2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น

     3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล



🌷คำศัพท์🌷

1. Balance              ความสมดุล
2. Process              กระบวนการ 
3. Conflict             ความขัดแย้ง
4. Acknowledge    รับรู้
5. Learning            เรียนรู้
6. Review              ทบทวน
7. Absorbing         การซึมซับ
8. Absorption        การดูดซับ
9. Concrete            รูปธรรม
10. Abstract           นามธรรม


🌷 แบบประเมิน 🌷

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคนพยายามช่วยกันตอบ ช่วยกันคิด ถึงบางคำตอบอาจจะผิด แต่ก็ไม่ลดละความพยายาม

ประเมินตนเอง : บางทีก็มีอาการงงๆกับเรื่องที่เรียนผ่านมาแล้ว ควรทบทวนบทเรียนมากกว่านี้

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยายามยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพได้ชัดขึ้น